วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

   


เหมา เจ๋อ ตุง

เหมา เจ๋อตง หรือ เหมา เจ๋อ หรือที่นิยม เรียก อีกอย่างว่า ท่านประธานเหมา เป็นผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์     แห่งประเทศจีน และทำให้จีนเปลี่ยนระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์  มาจนถึงปัจจุบัน

Y ประวัติ เหมา เจ๋อ ตง


                อดีตประธานาธิบดี ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ท่านประธานเหมา เจ๋อ ตุง       เกิดวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2436 ในครอบครัวชาวนา อาศัยอยู่ในเขตชนบทชานเมืองสาวซาน มณฑลหูหนาน  อายุ   8 ขวบ เข้าโรงเรียนประถมในหมู่บ้าน ร่ำเรียนคำสอนหลักลัทธิขงจื้อ ปลูกฝังความคิดตามจารีตโบราณ ต่อมาถูกคลุมถุงชนให้แต่งงานกับหญิงสาวที่อายุมากกว่า ด้วยวัยเยาว์ทำให้ไม่ประสากับชีวิตครอบครัว อีกทั้งต้องการก้าวสู่โลกกว้างมากกว่ามีชีวิตปลูกพืช เลี้ยงสัตว์อยู่กับบ้านไปวันๆ ตัดสินใจขัดใจพ่อแล้วเดินทางออกจากบ้านเกิดเข้าตัวอำเภอฉางชา เรียนหนังสือในโรงเรียนตามหลักสูตรรัฐบาล เป็นนักเรียนโค่งร่วมชั้นกับเด็กเล็กๆ ต่อมาสอบเข้าเรียนต่อวิทยาลัยครูหูหนาน จากนั้นมุ่งหน้าเข้ามหาวิทยาลัยปักกิ่ง เรียนและทำงานในหน้าที่ผู้ช่วยบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยไปด้วย และห้องสมุดนั่นเองที่เป็นคลังความรู้ให้สะสม ภูมิปัญญา ทั้งแตกฉานทางอักษรศาสตร์ยอดเยี่ยม ว่ากันว่าความรู้ที่ได้จากห้องสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่ง คือต้นทุนที่ทำให้เขาปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนได้สำเร็จ เหมาทุ่มเทเวลาให้กับการเรียนหนังสืออย่างจริงจัง เวลาว่างเขาเขียนบทความลงหนังสือของวิทยาลัยครู ใช้นามแฝง          เอ้อสือปาวาเซิงหรือ นายยี่สิบแปดขีดตามชื่อของเขาที่เมื่อเขียนเป็นภาษาจีนแบบตัวเต็มรุ่นเก่า จะมีทั้งหมด 28 ขีด งานเขียนส่วนใหญ่ของเหมาแสดงทัศนะวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของราชสำนักชิงซึ่งเป็นชาวแมนจู นักศึกษาหนุ่มหัวก้าวหน้าจึงเป็นที่จับตาของสายลับรัฐบาล นั่นไม่เป็นผลอะไร เพราะที่สุดเหมารวมพลคนใจเดียวกัน ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนในพ.ศ. 2464 และปีเดียวกัน เขาเป็นแกนนำหยุดงานประท้วงของคนงานเหมืองแร่ที่อันหยวน เขียนหนังสือ พลังปฏิวัติเบ่งบานออกมาจากปากกระบอกปืนแล้วก่อตั้งกองทัพแดงกรรมกรและชาวนา ตามด้วยกองทัพปลดแอกประชาชน ปฏิบัติการ ป่าล้อมเมืองจนมีชัยเหนือเจียง ไค เช็ก เหมา เจ๋อ ตุง กุมอำนาจรัฐเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เขาสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีนดำรงตำแหน่งประธานสาธารณรัฐจนถึงพ.ศ. 2512

Y ชีวิตครอบครัว
                เหมา เจ๋อ ตง มีภรรยาทั้งหมด  4  คน
      1.นางหลัว อีซิ่ว เป็นการแต่งแบบคลุมถุงชน ซึ่งเหมาไม่ได้ยินดีนัก
     2. นางหยาง ไค อุย เสียชีวิตในการทำสงครามเพื่อชาติ พ.ศ. 2464
     3. นางเอ ชิ เจิ้น นายพลหญิงแห่งกองทัพแดง
     4. เชียง ชิง ผู้นำการปฏิวัติกองทัพแดง หรือเรด การ์ดอันนองเลือดลือลั่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีนใหม่ นางฆ่าตัวตายปี 2534

Y การปฏิวัติของ เหมา เจ๋อ ตง
                เหมา มี ประชาชนสนับสนุนเขามากโดยเฉพาะ ชาวนา ชาวไร่ และ คนจน จึงได้จัดเป็นกองกำลังขึ้น โดยมีโซเวียต สนับสนุนอยู่ เพื่อปฏิวัติจีนให้เป็นคอมมิวนิสต์  แต่เจียงไคเช็กซึ่งกองทัพอยู่ในมือ จึงสามารถเล่นงาน เหมา      ได้ง่าย แต่ปัญหาหลักคือ กองทัพญี่ปุ่น ที่รุกคืบมายึดจีน โดยเฉพาะในยุทธการนานกิง  มีชาวจีนล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่เจียงไคเช็ก เห็นว่า คอมมิวนิสต์มีอันตรายกว่านั้น จึงส่งทัพหวังโจมตี กองทัพของเหมา ต่อมาในปี 1937-1945 กองทัพเหมาสามารถ ต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น     ด้วยยุทธวิธี “สงครามยืดเยื้อ”  จนได้ชัย (ซึ่งในยุคนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี จึงทำให้ญี่ปุ่นต้อง    ล่าถอย ไปช่วยกองทัพต่อกรกับ อเมริกาที่จะรุกคืบเข้า ญี่ปุ่น) ในปี 1943 เหมาได้เป็นประธานคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ปี 1946 เจียงส่งทัพมาโจมตี กองทัพเหมา แต่เหมาก็สามารถนำประชาชน ชนะทหารของเจียงได้ ถึง 3 ครั้งใหญ่ๆ และนำทัพประชาชน เข้า คุมอำนาจรัฐบาล เจียง จึงจำเป็นต้องลี้ภัยพร้อมกับคนเก่งๆในรัฐบาลหลายๆคน ไปเกาะแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของ จีน ที่เรียกว่า ไต้หวันเจียงจึงถือเป็นผู้ก่อตั้ง ไต้หวัน ทำให้ การปกครองระหว่างคอมมิวนิสต์ กับประชาธิปไตย แบ่งเป็น 2 ฝั่ง นั่นคือจีนแผ่นดินใหญ่ กับ ไต้หวัน




Y การปฏิวัติวัฒนธรรมจีน
ในสมัยที่ประเทศจีนปกครองโดยคอมมิวนิสต์ใหม่ ๆ นั้น ได้มีการใช้ระบบคอมมูน (แนวคิดว่าทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐ) โดยคอมมูนนี้เป็นจุดเริ่มของการปฏิวัติวัฒนธรรม เพราะคอมมูนการเลี้ยงดูได้ปลูกฝังแนวคิดสังคมนิยม และคอมมิวนิสต์ให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ของจีนในสมัยนั้น เป็นผลให้ระบบ เครือญาติที่เคยเข้มแข็งอ่อนแอลง

แก๊ง   4 คน   อันประกอบด้วย  เจียงชิง เหยาเหวินหยวน จางชุนเฉียว และหวังหงเหวิน   ที่เข้ามารวมตัวกันอย่างจริงจังเมื่อการปฏิวัติดำเนินไปช่วงหนึ่งแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นบทบาทและความทะเยอทะยานของแต่ละคนในการช่วงชิงอำนาจก็ไม่ด้อยไปกว่ากันเลย จนสร้างความทุกข์ลำเค็ญไปทั่วทุกหย่อมหญ้าบนแผ่นดินจีน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม 

-  เจียงชิง





       เหยาเหวินหยวน





-  จางชุนเฉียว 






           หวังหงเหวิน



 


 Y  สิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรม ปี 1976





เป็นปีที่สำคัญสำหรับการปฏิวัติวัฒนธรรม วันที่ 8 มกราคม โจวเอินไหล เสียชีวิตด้วยโรงมะเร็ง  ในวันต่อมาประชาชนต่างหลั่งไหลในที่อนุสาวรีย์     วีรชนเพื่อไว้อาลัยแก่โจวเอินไหล วันที่ 15 เป็นวันจัดงานศพของโจวเอินไหล เติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้กล่าวไว้อาลัยอย่างเป็นทางการ
 กุมภาพันธ์ กลุ่มแก๊งสี่คนออกมาโจมตีเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งเป็นคู่แข่งที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวอีกครั้ง โดยได้รับไฟเขียวจากเหมา เติ้งถูกลดอำนาจอีกครั้ง แต่เหมาก็ไม่ได้แต่งตั้งใครจากกลุ่มสี่คนเข้ารับตำแหน่งแทน แต่หันไปแต่งตั้งหัวกั๊วเฟิงแทน วันที่ 4 เมษายน วันชิงเม้ง ตามประเพณีจีน ประชาชนประมาณสองล้านคน รวมตัวกันที่จตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อรำลึกโจวเอินไหล ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มสนับสนุนเติ้งเสี่ยวผิง และโจมตีแก๊งสี่คนปรากฏภายในจตุรัส เอกสารต่อต้านกลุ่มสี่กลุ่มเผยแพร่ออกมาจำนวนมาก กลุ่มแก๊งสี่คนจึงสั่งให้ตำรวจเข้าไปสลายการชุมนุม แก๊งสี่คนโจมตีเติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้วางแผนอยู่เบื้องหลังสำหรับการชุมนุม 
กันยายน 1976 เหมาถึงแก่อสัญกรรม แก๊งสี่คนเห็นหัวกั๊วเฟิงไม่ยอมเชื่อฟัง พวกเขาจึงเตรียมที่จะล้ม หัว แต่วันที่ 6 ตุลาคม หัวกั๊วเฟิงภายใต้การสนับสนุนของกองทัพก็ชิงลงมือก่อน โดยส่งตำรวจเข้าจับกุม สมาชิกแก๊งสี่คนทั้งหมด
 การปฏิวัติวัฒนธรรมจึงปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ 
         การเสียชีวิตของ เหมาเจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น มีผลต่อการล่มสลายของการ ปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ผู้สืบอำนาจต่อมา คือ เติ้งเสี่ยวผิง นั้นได้ผ่อนคลายกฎลง ทำให้สภาวการณ์คลี่คลาย โดยเฉพาะเมื่อมีการจับกุมกลุ่มผู้นำการปฏิวัติ ทำให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมสิ้นสุดลง


Yผู้นำสูงสุดของจีน



                    ประธานเหมา ประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง ใช้สัญลักษณ์ค้อนเคียวเป็นสัญลักษณ์พรรค ก็อยู่ในภาวะสงบหลังจากที่ผ่านพ้น ภาวะสงครามและการต่อต้านจากภายใน ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง ที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัด ในปีแรกของการบริหารประเทศ เหมาเน้นการเพิ่มความชำนาญและประสิทธิภาพในการปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจ และได้ให้ประชาชนทุกชนชั้นเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจนี้ ผลตอบรับจึงเป็นที่ประทับใจและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง
          ปี 1950 นานาชาติเริ่มให้การยอมรับต่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์มากขึ้นตามลำดับ แต่สิ่งที่ทำให้การยอมรับจากนานาชาติต้องสะดุดคือเหตุการณ์ สงครามเกาหลี เนื่องจากในปี 1950 กองกำลังสหประชาชาติ ได้ส่งเข้าไปเกาหลีเหนือ จีนเกรงว่าจะคุกครามต่อดินแดงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหัวใจทางด้านอุตสาหกรรม จีนจึงส่งกองทัพปลดแอกประชาชน แต่เรียกตนเองว่าอาสาสมัครประชาชนจีนเข้าไป    เกาหลีเหนือตามคำเรียกร้อง ในสงครามครั้งนั้น มีประเทศที่เป็น คอมมิวนิสต์ใหญ่ๆ 2 ประเทศนั่นคือ จีนแผ่นดินใหญ่กับสหภาพโซเวียตเข้ามาช่วยเหลือเกาหลีเหนือ โดยมีเหมาเจ๋อตุง เป็นผู้สนับสนุนเกาหลีเหนือ
จอมพล ดักลาส แมคอาเธอร์แห่งกองทัพเรือสหรัฐ มีความคิดที่จะร่วมมือกับ เจียง ไค เช็ก  แห่งไต้หวัน ว่าจะส่งกองทหารจีนคณะชาติเข้าช่วยทำสงครามในเกาหลีเพื่อปราบปรามจีนแดง แต่วงการเมืองอังกฤษขอให้อเมริกางดความเห็นนี้เพราะเกรงจะเกิดสงครามใหญ่ หลังจากนั้น เขาก็ออกสื่อ ให้ทุกๆอย่างจบลง ด้วยการโจมตีจีนแดง จึงทำให้จอมพลผู้นี้ ต้องออกจากตำแหน่ง ตามคำสั่งทรูแมน
ในเวลา 5 นาฬิกาในช่วงบ่าย เหมา เกิดอาการหัวใจวาย และได้อสัญกรรมลงวันที่ 9 กันยายน 1976 
เหมาถึงแก่กรรมที่กรุงปักกิ่ง รวมอายุ 83 ปี มีบุตร 5 คน ชาย 3 หญิง 2



แหล่งอ้างอิง


http://th.wikipedia.org/wiki/
http://lms.thaicyberu.go.th/
http://www.baanjomyut.com/library_2/socialist_and_communist_zionist/04.html
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000074496
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000081319







1 ความคิดเห็น: