วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เคล็ดไม่ลับ สำหรับการอ่านหนังสือให้จำ

เทคนิคลับ ในการอ่านหนังสือให้จำ
หลายคนคงจะเคยเจอปัญหาในการอ่านหนังสือมามากมาย เช่น อ่านยังไงก็ไม่จำ ไม่มีสมาธิ ไม่รู้จะเริ่มต้นอ่านตรงไหนก่อน เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะสอบแล้ว ยังอ่านหนังสือ    ได้ไม่ถึงครึ่งเลย ไม่รู้จะวางแผนการอ่านหนังสือยังไงดี ลองเอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ดู น่าจะช่วยเพื่อนๆ ได้เยอะ



1. ต้องสร้างทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือซะก่อน หากมีทัศนคติที่แย่ๆ ต่อการอ่านหนังสือแล้ว อ่านถึง 10 รอบก็ไม่มีทางจำได้ อ่านเยอะอย่างไรก็ไม่เข้าหัวหรอก
2. เมื่อมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือแล้ว ก็ต้องมาสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือด้วย แรงจูงใจจะเป็นตัวผลักดัน และกระตุ้นให้เพื่อนๆ มีความอยากในการอ่านหนังสือ วิธีการสร้างแรงจูงใจก็คือพยายามคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราอ่านหนังสือสำเร็จ เช่น ถ้าเราตั้งใจอ่านหนังสือและเตรียมความฟิตให้ตัวเองจนพร้อมแล้ว เราก็สามารถตะลุยข้อสอบได้ ผลก็คือได้คะแนนเป็นที่น่าพอใจ จากจุดนี้ก็จะทำให้เพื่อนๆ ได้เกรดสูงๆ หรือไม่ก็ Admissions ติด พ่อ แม่ พี่ น้อง ก็จะดีใจ หรืออาจจะได้รับของขวัญเล็กๆ น้อยๆ จากท่านอีกก็ได้
3. พยายามสรุปเรื่องที่เราอ่านแล้วจำเป็นรูปภาพ ปกติแล้วมนุษย์จะจำเรื่องราวทั้งหมดเป็นรูปภาพ หลายๆ วิชาที่ไม่มีรูปภาพประกอบทำให้เราอ่านแล้วไม่สามารถจินตาการ หรือจดจำได้ ให้เพื่อนๆ สรุปเรื่องที่เราอ่านแล้ว นำมาทำเป็น            My map เพื่อเชื่อมโยงในส่วนที่สัมพันธ์กัน และวาดให้เป็นความเข้าใจของตัวเอง จะทำให้จำได้แม่นขึ้น



4. หาเวลาติวให้เพื่อน เป็นวิธีการทบทวนความรู้ไปในตัวได้ดีที่สุด เพราะเราจะสอนออกมาจากความเข้าใจของตัวเราเอง หากติวแล้วเพื่อนที่เราติวให้เข้าใจ ถือว่าเราแตกฉานในความรู้นั้นได้อย่างแท้จริง
5. เน้นการตะลุยโจทย์ให้เยอะๆ พยายามหาข้อสอบย้อนหลังมาทำให้ได้มากที่สุด เพราะการตะลุยโจทย์จะทำให้เราจำได้ง่ายกว่าการอ่านเนื้อหา
6. เตรียมตัว และให้ความสำคัญในการอ่านหนังสือในวิชาที่เราถนัดมากกว่าวิชาที่ดันไม่ขึ้น เพื่อนๆ หลายคนเข้าใจผิด ไปทุ่มเทเวลาให้กับวิชาที่เราไม่ถนัด วิชาไหนที่เราไม่ถนัด ดันยังไงมันก็ไม่ขึ้น เสียเวลาเปล่า เอาเวลาไปทุ่มให้กับวิชาที่เราทำได้ให้ชัวร์ดีกว่า จะได้เอาคะแนนไปถัวเฉลี่ยกับวิชาอื่นๆ แบบนี้เข้าท่ากว่าเยอะนะ
7. สมาธิเป็นสิ่งสำคัญมากในการอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ ต้องมีสมาธิดี   ใครที่สมาธิสั้น จะจำยาก ลืมง่าย ใครสมาธิดี จะจำง่าย ลืมยาก การอ่านหนังสือ ต้องอ่านต่อเนื่องอย่างน้อย ชั่วโมงครึ่ง 30 นาทีแรกจิตใจของเรากำลังฟุ้ง ให้พยายามปรับให้นิ่ง 60 นาทีหลัง ใจนิ่งมีสมาธิแล้ว ก็พร้อมรับสิ่งใหม่ เข้าสู่สมอง ที่สำคัญอย่าเอาขยะมาใส่หัว ห้ามคิดเรื่องพวกนี้ซักพัก เช่น เรื่องหนัง , เกม , แฟน พยายามออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้จิตใจเรานิ่งขึ้น





ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.readthailand.com/

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

รูปแบบการเขียนรายงาน


ส่วนประกอบรายงาน
1. ปกนอก
2. ปกรอง (กระดาษเปล่าสีขาว)
3. ปกใน (เหมือนปกนอกทุกประการแต่ใช้กระดาษขาว)
4. คำนำ
5. สารบัญ
6. เนื้อหา
7. บรรณานุกรม หรือแหล่งอ้างอิง
8. ภาคผนวก  (ในที่นี้ให้รอคำสั่งจากครูว่าจะให้ใส่อะไรในภาคผนวก)
9. ปกรองหลัง (กระดาษเปล่าสีขาว)
10. ปกหลัง
การจัดระยะขอบ หรือจัดกั้นหน้า - กั้นหลัง
กั้นหน้า ระยะขอบเท่ากับ   3.17 cm
กั้นหลัง ระยะขอบเท่ากับ 2.5 cm
ขอบบน ระยะขอบเท่ากับ   2.5 cm  หรือ 3.00 cm
ขอบล่าง ระยะขอบเท่ากับ 2.5 cm  หรือ 2.00 cm
รูปแบบของปก
ปกจะประกอบด้วยข้อความ  4  ส่วนคือ
ส่วนที่  1  คือชื่อเรื่องรายงาน
ส่วนที่  2  คือชื่อผู้จัดทำรายงาน
ส่วนที่  3  คือเสนอใคร
ส่วนที่  4  คือบอกถึงรายงานฉบับนี้เป็นของวิชาอะไร ภาคเรียนและปีการศึกษาใด โรงเรียนอะไร

ข้อความทั้ง 4  ส่วน ให้มีการเว้นระยะห่างของแต่ละส่วนให้เท่า ๆ กัน
ข้อความส่วนที่ 1  อาจมีขนาดอักษรที่ใหญ่กว่าข้อความส่วนอื่น ๆ ก็ได้
ข้อความในส่วนที่ 2 – 3  ควรใช้ขนาดอักษรที่เท่ากัน
สำหรับข้อความในส่วนที่ 4  ขนาดอักษรอาจมีขนาดเท่ากับส่วนที่ 2 และ 3  หรืออาจจำเป็นต้องมีขนาดอักษรที่เล็กกว่าส่วน 2 – 3  เล็กน้อย



ดังตัวอย่างรูปแบบของปกรายงานดังนี้
ตัวอย่างปกรายงาน





1. คำนำ   มีรูปแบบดังนี้




2. สารบัญ มีรูปแบบดังนี้






3. เนื้อหา ของเรื่องรายงาน  มีข้อกำหนดดังนี้

- ข้อความที่เป็นชื่อเรื่อง (มักจะอยู่ที่หน้าแรกของเนื้อหารายงาน) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- ข้อความที่เป็นหัวข้อย่อย  ใช้ ชิดซ้าย เหมือนกันทั้งฉบับ
- ข้อความที่เป็นเนื้อหา หรือเนื้อเรื่องใช้ เหมือนกันทั้งฉบับ
- รูปแบบอักษรให้ใช้แบบเดียวกันทั้งฉบับ
- สีอักษร  โดยทั่วไปและแบบเป็นทางการจะใช้สีดำ
- เนื้อหาในบางส่วนจำเป็นต้องมีรูปภาพมาประกอบเพื่อจะได้มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
ซึ่งจะต้องใช้รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายงาน
- ข้อความเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ ให้ขึ้นต้นบรรทัดใหม่และมีการย่อหน้า
- ในส่วนของการย่อหน้าให้ย่อหน้าเท่ากันทั้งฉบับ
- ข้อความเนื้อหาที่เป็นการจัดเรียงลำดับเลขข้อ หรือเลขข้อย่อยก็ควรใช้ในรูปแบบที่เหมือนกันและจัดย่อหน้าให้เท่ากัน ย่อหน้าเป็นระดับชั้นที่ถูกต้องด้วย
- ให้ใส่เลขหน้าในรายงานด้วยเพื่อจัดทำสารบัญ  โดยจัดวาง และใช้รูปแบบเดียวกันทั้งฉบับ

ตัวอย่างเนื้อหารายงาน




ข้อสังเกตที่ตรวจพบ
 (ข้อความที่สำคัญต้องมีการขีดเส้นใต้สีข้อความต่างจากข้อความอื่นๆ)
นักศึกษาต้องอ่านตรวจสอบถึงความสัมพันธ์ของข้อความในแต่ละวรรคตอน ตรวจสอบคำถูกคำผิด ฉะนั้นขอให้นักศึกษาได้ตรวจสอบให้ดีและรอบคอบก่อนส่งครูทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นวิชาใดก็ตามนักเรียนควรจัดทำรายงานให้เป็นมาตรฐานหรือมีรูปแบบที่เป็นสากล เพื่อแสดงให้เห็นถึงภูมิความรู้ที่นักศึกษามีอยู่
ขอให้นักเรียนโชคดี และหวังว่านักเรียนจะนำข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในโอกาสต่อ ๆ ไปได้

อ. วิมล อินทร์จันทร์



 ขอขอบคุณข้อมูลจาก

www.ksnwattana.nlern.com/library/userfiles/port%205222.doc





รูปแบบการเขียนอ้างอิง

           การอ้างอิง     หมายถึง  การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง ปัจจุบันในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ นิยมใช้ คือ

1. การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ซึ่งมี 2 ระบบ (ส่งศรี ดีศรีแก้ว, 2534 : 78) คือ
     1.1 ระบบนาม - ปี ( Author - date)
            ระบบนาม - ปี เป็นระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ที่อ้างอิงอยู่ภายในวงเล็บ ดังตัวอย่าง
                    (ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง)
     1.2  ระบบหมายเลข (Number System)  เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับระบบนาม - ปี แต่ระบบนี้จะใช้หมายเลขแทนชื่อผู้แต่งเอกสาร
             อ้างอิง มีอยู่ 2 วิธี คือ
             1.2.1 ให้หมายเลขตามลำดับของการอ้างอิง
             1.2.2 ให้หมายเลขตามลำดับอักษรผู้แต่ง

          บรรณานุกรม (Bibliography)  หมายถึง รายการของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานได้ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลาย ๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่

ลำดับ ประเภทบรรณานุกรม
1. ตัวอย่าง บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย
2. ตัวอย่าง บรรณานุกรมภาษาอังกฤษ
3. ตัวอย่าง บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
4. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ
5. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
6. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
7. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
8. ตัวอย่าง บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
9. ตัวอย่าง บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์


1. บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย                 

                  แบบ ก              
                  ชื่อ / ชื่อสกุล. / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /
                   / / / / / / /ปีที่พิมพ์.
                  แบบ ข
                  ชื่อ / ชื่อสกุล. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์/ : / ผู้รับผิดชอบ
                   / / / / / / / ในการพิมพ์.

      ตัวอย่าง
                  แบบ ก
                  กิตติกร  มีทรัพย์. จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์,
                                2544.
                  แบบ ข
                  กิติกร  มีทรัพย์.  (2544).  จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ :
                             ธุรกิจการพิมพ์.
           
2. บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ
                  แบบ ก
                  ชื่อสกุล. / ชื่อต้น / ชื่อกลาง(ถ้ามี). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์./ /เมืองที่พิมพ์/:/ผู้รับผิดชอบ
                  / / / / / / /ในการพิมพ์./ / ปีที่พิมพ์.
                  แบบ ข 
                  ชื่อสกุล./อักษรย่อชื่อต้น / อักษรย่อชื่อกลาง(ถ้ามี). / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์.
                  / / / / / / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.

       ตัวอย่าง 
                  แบบ ก  
                  Hartley, Eric Key.  Childhood and society.  2 nd ed. New York : Mc Graw -
                               Hill, 1989.
                  แบบ ข
                  Hartley, E.K. (1989). Childhood and Society. 2 nd ed. New York : MC Graw -Hill.


3.บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ 
                  แบบ ก 
                  ชื่อผู้เขียน. / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์. / / ชื่อเมืองที่พิมพ์ / : / ชื่อมหาวิทยาลัย, /
                   / / / / / / / ปีที่พิมพ์.
                  แบบ ข 
                  ชื่อผู้เขีัยน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ระัดับวิทยานิพนธ์, / ชื่อสาขา / คณะ /
                   / / / / / / / ชื่อมหาวิทยาลัย.

       ตัวอย่าง 
                  แบบ ก 
                  ภัคพร  กอบพึ่งตน.  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
                                 นครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.
                                 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
                                 
                  แบบ ข
                  ภัคพร  กอบพึ่งตน.  (2540).  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
                               นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,  สาขาวิชา
                               การบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
                             
4. บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ  
                  แบบ ก  
                  ชื่อผู้เขียน./ / "ชื่อตอนหรือบทความ" / ใน / ชื่อหนังสือ. / / หน้า / เลขหน้า. / / ชื่อบรรณาธิการ
                   / / / / / / / (ถ้ามี)./ / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /ปีที่พิมพ์.
                  แบบ ข
                  ชื่อผู้เขีน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน / ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)(ถ้ามี). / /
                   / / / / / / / ชื่อหนังสือ. / / (หน้า / เลขหน้า). / / เมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.
     ตัวอย่าง 
                  แบบ ก
                  สมจิต   หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ.  "การประเมินผลการพยาบาล"  ใน
                                  เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8-15.
                                  หน้า 749 - 781.  มยุรา  กาญจนางกูร, บรรณาธิการ.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
                                  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.
               
                  แบบ ข
                  สมจิต  หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ. (2536).  การประเมินผลการพยาบาลใน
                                 ใน มยุรา  กาญจนางกูร (บรรณาธิการ).  เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและ
                                  กระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8 - 15.  (หน้า 749- 781). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
                                  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

5. บรรณานุกรมบทความจากวารสาร
                แบบ ก
                ชื่อผู้เขียน. / / "ชื่อบทความ" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) / : / เลขหน้า; /
                / / / / / / / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
               แบบ ข
               ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อวารสาร. ปีที่หรือเล่ม(ฉบับที่), /
               / / / / / / /เลขหน้า.
    ตัวอย่าง 
               แบบ ก  
               วิทยาคม  ยาพิศาล.  "การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตาม
                              แนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณภาพ"  กรมวิทยาศาสตร์การ
                              แพทย์.  46(3) : 142 - 153 : กรกฎาคม - กันยายน 2547.
               แบบ ข 
               วิทยาคม  ยาพิศาล.  (2547,กรกฏาคม - กันยายน). การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยา-
                              ศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตามแนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณ
                              ภาพ.  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 46(3), 142 - 153.

6.บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
                แบบ ก
                ชื่อผู้เขียน. / /"ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่) / :
                / / / / / / /เลขหน้า ; / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
                แบบ ข  
                ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, วัน / เดือน). / / ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์. / / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือ
                / / / / / / /เล่มที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.

     ตัวอย่าง  
               แบบ ก  
               วิทยา  นาควัชระ.  "คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว" สกุลไทย.  40(2047) :
                           191 - 192 ; 26 ตุลาคม 2544.
               แบบ ข
               วิทยา  นาควัชระ.  (2544, 26 ตุลาคม).  คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว.
                            สกุลไทย. 40(2047), 191 - 192.

7.บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์ 
               แบบ ก  
               ชื่อผู้เขียนบทความ. / / "ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" /ชื่อหนังสือพิมพ์. / / วัน / เดือน/
               / / / / / / /ปี. / / หน้า / เลขหน้า.
               แบบ ข
               ชื่อผู้เขียนบทความ. / /(ปี, / วัน / เดือน). / /ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์./ / ชื่อหนังสือ
               / / / / / / / พิมพ์, / หน้า / เลขหน้า
      ตัวอย่าง 
               แบบ ก
               นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  "เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู" ไทยรัฐ.  5 มิถุนาน 2546.
                            หน้า 2.
                แบบ ข  
                นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  (2546, 5 มิถุนายน). เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู. ไทยรัฐ,
                             หน้า 2.
8.บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ 
                แบบ ก  
                ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ./ / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ / ชื่อเมือง / : /
                 / / / / / / / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ, / ปีที่จัดทำ.
               แบบ ข
                ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ. / / (ปีที่จัดทำ). / / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ /
                 / / / / / / / ชื่อเมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ.
     ตัวอย่าง 
                แบบ ก  
                สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย.  ประเด็นปัญหาการวิจัยทางการพยาบาลคลินิก.
                               [เทปโทรทัศน์].   ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537.
                แบบ ข  
                สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย. (2537). ประเด็นปัญหาการวิจัยางการพยาบาลคลินิก.
                              [เทปโทรทัศน์].  ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

9.บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

     9.1 ฐานข้อมูล ซีดี - รอม

                 แบบ ก  
                 ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสือ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / /
                  / / / / / / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ.
                 แบบ ข  
                 ผู้แต่ง./ / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / /
                 / / / / / / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ.
      ตัวอย่า
                แบบ ก
                นพรัตน์  เพชรพงษ์.  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.
                              [ซีดี - รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.  เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย
                              เชียงใหม่, 2545.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 3, 2547.
                แบบ ข
                นพรัตน์  เพชรพงษ์.  (2545).  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.
                              [ซีดี - รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.  สาขาวิชาการบริหารการ
                              พยาบาลบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูล
                              วิทยานิพนธ์ไทยแผ่นที่ 3, 2547.
9.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ 
                 แบบ ก
                 ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / /
                                เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี).
                 แบบ ข  
                 ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/ วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียด
                                ทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ. / /
                                (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน /ปี).
       ตัวอย่าง 
                  แบบ ก
                  พิมลพรรณ  พิทยานุกูล.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http :
                                  / / www.lib.buu.ac.th.  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546).
                   เรวัติ  ยศสุข.  "ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย."  ฉลาดซื้อ.  [ออนไลน์]. 6(6) ;
                               กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2546.  เข้าถึงได้จาก : http : / /                                                     www.kalathai.com/think/view_hot. ?article_id
                               = 16.  (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547)
                   แบบ ข  
                   พิมลพรรณ   พิทยานุกูล.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http : / /
                                 / / www.lib.buu.ac.th.  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546).
                   เรวัติ  ยศสุข.  (2546,กุมภาพันธ์ - มีนาคม).  "ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย."  ฉลาดซื้อ.
                                 [ออนไลน์]. 6(6) เข้าถึงได้จาก : http : / / www.kalathai.com/think/view_hot.
                                 ? article_id = 16.  (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547).




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.lib.nu.ac.th/nulibnet/index.php?topic=178.0





วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

   


เหมา เจ๋อ ตุง

เหมา เจ๋อตง หรือ เหมา เจ๋อ หรือที่นิยม เรียก อีกอย่างว่า ท่านประธานเหมา เป็นผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์     แห่งประเทศจีน และทำให้จีนเปลี่ยนระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์  มาจนถึงปัจจุบัน

Y ประวัติ เหมา เจ๋อ ตง


                อดีตประธานาธิบดี ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ท่านประธานเหมา เจ๋อ ตุง       เกิดวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2436 ในครอบครัวชาวนา อาศัยอยู่ในเขตชนบทชานเมืองสาวซาน มณฑลหูหนาน  อายุ   8 ขวบ เข้าโรงเรียนประถมในหมู่บ้าน ร่ำเรียนคำสอนหลักลัทธิขงจื้อ ปลูกฝังความคิดตามจารีตโบราณ ต่อมาถูกคลุมถุงชนให้แต่งงานกับหญิงสาวที่อายุมากกว่า ด้วยวัยเยาว์ทำให้ไม่ประสากับชีวิตครอบครัว อีกทั้งต้องการก้าวสู่โลกกว้างมากกว่ามีชีวิตปลูกพืช เลี้ยงสัตว์อยู่กับบ้านไปวันๆ ตัดสินใจขัดใจพ่อแล้วเดินทางออกจากบ้านเกิดเข้าตัวอำเภอฉางชา เรียนหนังสือในโรงเรียนตามหลักสูตรรัฐบาล เป็นนักเรียนโค่งร่วมชั้นกับเด็กเล็กๆ ต่อมาสอบเข้าเรียนต่อวิทยาลัยครูหูหนาน จากนั้นมุ่งหน้าเข้ามหาวิทยาลัยปักกิ่ง เรียนและทำงานในหน้าที่ผู้ช่วยบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยไปด้วย และห้องสมุดนั่นเองที่เป็นคลังความรู้ให้สะสม ภูมิปัญญา ทั้งแตกฉานทางอักษรศาสตร์ยอดเยี่ยม ว่ากันว่าความรู้ที่ได้จากห้องสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่ง คือต้นทุนที่ทำให้เขาปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนได้สำเร็จ เหมาทุ่มเทเวลาให้กับการเรียนหนังสืออย่างจริงจัง เวลาว่างเขาเขียนบทความลงหนังสือของวิทยาลัยครู ใช้นามแฝง          เอ้อสือปาวาเซิงหรือ นายยี่สิบแปดขีดตามชื่อของเขาที่เมื่อเขียนเป็นภาษาจีนแบบตัวเต็มรุ่นเก่า จะมีทั้งหมด 28 ขีด งานเขียนส่วนใหญ่ของเหมาแสดงทัศนะวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของราชสำนักชิงซึ่งเป็นชาวแมนจู นักศึกษาหนุ่มหัวก้าวหน้าจึงเป็นที่จับตาของสายลับรัฐบาล นั่นไม่เป็นผลอะไร เพราะที่สุดเหมารวมพลคนใจเดียวกัน ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนในพ.ศ. 2464 และปีเดียวกัน เขาเป็นแกนนำหยุดงานประท้วงของคนงานเหมืองแร่ที่อันหยวน เขียนหนังสือ พลังปฏิวัติเบ่งบานออกมาจากปากกระบอกปืนแล้วก่อตั้งกองทัพแดงกรรมกรและชาวนา ตามด้วยกองทัพปลดแอกประชาชน ปฏิบัติการ ป่าล้อมเมืองจนมีชัยเหนือเจียง ไค เช็ก เหมา เจ๋อ ตุง กุมอำนาจรัฐเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เขาสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีนดำรงตำแหน่งประธานสาธารณรัฐจนถึงพ.ศ. 2512

Y ชีวิตครอบครัว
                เหมา เจ๋อ ตง มีภรรยาทั้งหมด  4  คน
      1.นางหลัว อีซิ่ว เป็นการแต่งแบบคลุมถุงชน ซึ่งเหมาไม่ได้ยินดีนัก
     2. นางหยาง ไค อุย เสียชีวิตในการทำสงครามเพื่อชาติ พ.ศ. 2464
     3. นางเอ ชิ เจิ้น นายพลหญิงแห่งกองทัพแดง
     4. เชียง ชิง ผู้นำการปฏิวัติกองทัพแดง หรือเรด การ์ดอันนองเลือดลือลั่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีนใหม่ นางฆ่าตัวตายปี 2534

Y การปฏิวัติของ เหมา เจ๋อ ตง
                เหมา มี ประชาชนสนับสนุนเขามากโดยเฉพาะ ชาวนา ชาวไร่ และ คนจน จึงได้จัดเป็นกองกำลังขึ้น โดยมีโซเวียต สนับสนุนอยู่ เพื่อปฏิวัติจีนให้เป็นคอมมิวนิสต์  แต่เจียงไคเช็กซึ่งกองทัพอยู่ในมือ จึงสามารถเล่นงาน เหมา      ได้ง่าย แต่ปัญหาหลักคือ กองทัพญี่ปุ่น ที่รุกคืบมายึดจีน โดยเฉพาะในยุทธการนานกิง  มีชาวจีนล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่เจียงไคเช็ก เห็นว่า คอมมิวนิสต์มีอันตรายกว่านั้น จึงส่งทัพหวังโจมตี กองทัพของเหมา ต่อมาในปี 1937-1945 กองทัพเหมาสามารถ ต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น     ด้วยยุทธวิธี “สงครามยืดเยื้อ”  จนได้ชัย (ซึ่งในยุคนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี จึงทำให้ญี่ปุ่นต้อง    ล่าถอย ไปช่วยกองทัพต่อกรกับ อเมริกาที่จะรุกคืบเข้า ญี่ปุ่น) ในปี 1943 เหมาได้เป็นประธานคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ปี 1946 เจียงส่งทัพมาโจมตี กองทัพเหมา แต่เหมาก็สามารถนำประชาชน ชนะทหารของเจียงได้ ถึง 3 ครั้งใหญ่ๆ และนำทัพประชาชน เข้า คุมอำนาจรัฐบาล เจียง จึงจำเป็นต้องลี้ภัยพร้อมกับคนเก่งๆในรัฐบาลหลายๆคน ไปเกาะแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของ จีน ที่เรียกว่า ไต้หวันเจียงจึงถือเป็นผู้ก่อตั้ง ไต้หวัน ทำให้ การปกครองระหว่างคอมมิวนิสต์ กับประชาธิปไตย แบ่งเป็น 2 ฝั่ง นั่นคือจีนแผ่นดินใหญ่ กับ ไต้หวัน




Y การปฏิวัติวัฒนธรรมจีน
ในสมัยที่ประเทศจีนปกครองโดยคอมมิวนิสต์ใหม่ ๆ นั้น ได้มีการใช้ระบบคอมมูน (แนวคิดว่าทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐ) โดยคอมมูนนี้เป็นจุดเริ่มของการปฏิวัติวัฒนธรรม เพราะคอมมูนการเลี้ยงดูได้ปลูกฝังแนวคิดสังคมนิยม และคอมมิวนิสต์ให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ของจีนในสมัยนั้น เป็นผลให้ระบบ เครือญาติที่เคยเข้มแข็งอ่อนแอลง

แก๊ง   4 คน   อันประกอบด้วย  เจียงชิง เหยาเหวินหยวน จางชุนเฉียว และหวังหงเหวิน   ที่เข้ามารวมตัวกันอย่างจริงจังเมื่อการปฏิวัติดำเนินไปช่วงหนึ่งแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นบทบาทและความทะเยอทะยานของแต่ละคนในการช่วงชิงอำนาจก็ไม่ด้อยไปกว่ากันเลย จนสร้างความทุกข์ลำเค็ญไปทั่วทุกหย่อมหญ้าบนแผ่นดินจีน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม 

-  เจียงชิง





       เหยาเหวินหยวน





-  จางชุนเฉียว 






           หวังหงเหวิน



 


 Y  สิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรม ปี 1976





เป็นปีที่สำคัญสำหรับการปฏิวัติวัฒนธรรม วันที่ 8 มกราคม โจวเอินไหล เสียชีวิตด้วยโรงมะเร็ง  ในวันต่อมาประชาชนต่างหลั่งไหลในที่อนุสาวรีย์     วีรชนเพื่อไว้อาลัยแก่โจวเอินไหล วันที่ 15 เป็นวันจัดงานศพของโจวเอินไหล เติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้กล่าวไว้อาลัยอย่างเป็นทางการ
 กุมภาพันธ์ กลุ่มแก๊งสี่คนออกมาโจมตีเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งเป็นคู่แข่งที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวอีกครั้ง โดยได้รับไฟเขียวจากเหมา เติ้งถูกลดอำนาจอีกครั้ง แต่เหมาก็ไม่ได้แต่งตั้งใครจากกลุ่มสี่คนเข้ารับตำแหน่งแทน แต่หันไปแต่งตั้งหัวกั๊วเฟิงแทน วันที่ 4 เมษายน วันชิงเม้ง ตามประเพณีจีน ประชาชนประมาณสองล้านคน รวมตัวกันที่จตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อรำลึกโจวเอินไหล ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มสนับสนุนเติ้งเสี่ยวผิง และโจมตีแก๊งสี่คนปรากฏภายในจตุรัส เอกสารต่อต้านกลุ่มสี่กลุ่มเผยแพร่ออกมาจำนวนมาก กลุ่มแก๊งสี่คนจึงสั่งให้ตำรวจเข้าไปสลายการชุมนุม แก๊งสี่คนโจมตีเติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้วางแผนอยู่เบื้องหลังสำหรับการชุมนุม 
กันยายน 1976 เหมาถึงแก่อสัญกรรม แก๊งสี่คนเห็นหัวกั๊วเฟิงไม่ยอมเชื่อฟัง พวกเขาจึงเตรียมที่จะล้ม หัว แต่วันที่ 6 ตุลาคม หัวกั๊วเฟิงภายใต้การสนับสนุนของกองทัพก็ชิงลงมือก่อน โดยส่งตำรวจเข้าจับกุม สมาชิกแก๊งสี่คนทั้งหมด
 การปฏิวัติวัฒนธรรมจึงปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ 
         การเสียชีวิตของ เหมาเจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น มีผลต่อการล่มสลายของการ ปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ผู้สืบอำนาจต่อมา คือ เติ้งเสี่ยวผิง นั้นได้ผ่อนคลายกฎลง ทำให้สภาวการณ์คลี่คลาย โดยเฉพาะเมื่อมีการจับกุมกลุ่มผู้นำการปฏิวัติ ทำให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมสิ้นสุดลง


Yผู้นำสูงสุดของจีน



                    ประธานเหมา ประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง ใช้สัญลักษณ์ค้อนเคียวเป็นสัญลักษณ์พรรค ก็อยู่ในภาวะสงบหลังจากที่ผ่านพ้น ภาวะสงครามและการต่อต้านจากภายใน ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง ที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัด ในปีแรกของการบริหารประเทศ เหมาเน้นการเพิ่มความชำนาญและประสิทธิภาพในการปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจ และได้ให้ประชาชนทุกชนชั้นเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจนี้ ผลตอบรับจึงเป็นที่ประทับใจและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง
          ปี 1950 นานาชาติเริ่มให้การยอมรับต่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์มากขึ้นตามลำดับ แต่สิ่งที่ทำให้การยอมรับจากนานาชาติต้องสะดุดคือเหตุการณ์ สงครามเกาหลี เนื่องจากในปี 1950 กองกำลังสหประชาชาติ ได้ส่งเข้าไปเกาหลีเหนือ จีนเกรงว่าจะคุกครามต่อดินแดงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหัวใจทางด้านอุตสาหกรรม จีนจึงส่งกองทัพปลดแอกประชาชน แต่เรียกตนเองว่าอาสาสมัครประชาชนจีนเข้าไป    เกาหลีเหนือตามคำเรียกร้อง ในสงครามครั้งนั้น มีประเทศที่เป็น คอมมิวนิสต์ใหญ่ๆ 2 ประเทศนั่นคือ จีนแผ่นดินใหญ่กับสหภาพโซเวียตเข้ามาช่วยเหลือเกาหลีเหนือ โดยมีเหมาเจ๋อตุง เป็นผู้สนับสนุนเกาหลีเหนือ
จอมพล ดักลาส แมคอาเธอร์แห่งกองทัพเรือสหรัฐ มีความคิดที่จะร่วมมือกับ เจียง ไค เช็ก  แห่งไต้หวัน ว่าจะส่งกองทหารจีนคณะชาติเข้าช่วยทำสงครามในเกาหลีเพื่อปราบปรามจีนแดง แต่วงการเมืองอังกฤษขอให้อเมริกางดความเห็นนี้เพราะเกรงจะเกิดสงครามใหญ่ หลังจากนั้น เขาก็ออกสื่อ ให้ทุกๆอย่างจบลง ด้วยการโจมตีจีนแดง จึงทำให้จอมพลผู้นี้ ต้องออกจากตำแหน่ง ตามคำสั่งทรูแมน
ในเวลา 5 นาฬิกาในช่วงบ่าย เหมา เกิดอาการหัวใจวาย และได้อสัญกรรมลงวันที่ 9 กันยายน 1976 
เหมาถึงแก่กรรมที่กรุงปักกิ่ง รวมอายุ 83 ปี มีบุตร 5 คน ชาย 3 หญิง 2



แหล่งอ้างอิง


http://th.wikipedia.org/wiki/
http://lms.thaicyberu.go.th/
http://www.baanjomyut.com/library_2/socialist_and_communist_zionist/04.html
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000074496
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000081319







วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

เสวนาโครงการ “ หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน ” 

ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว



วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 12.30-16.30 พิพิธภัณฑ์ฯได้จัดงานเสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน" โดยวิทยากร คือคุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุศิริราชพยาบาล และ                            คุณพิมพ์ฤทัย   ชูแสงศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารลิซ่า  

การแสดงดนตรีในบทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๗ โดยชมรมดนตรีไทย ม.ศิลปากร













                        วิทยากรโดย  นางสาววิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ หัวหน้าจดหมายเหตุศิริราชพยาบาล
      นางพิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารลิซ่า